Por : Technical Analysis

ตลาดหลักทรัพย์ไทย

ทดสอบแนวต้าน 1,642 – 1,650 จุด
แรงซื้อที่กลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า ส่งผลให้บรรยากาศการซื้อขายกลับมาคึกคัก ดัชนีตลาดปิดที่ 1,638.24 จุด เพิ่มขึ้น 12.67 จุด มูลค่าการซื้อขาย 5.68 หมื่นล้านบาท สัญญาณทางเทคนิคัลระยะสั้นเป็นบวก ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวเข้าหาแนวต้านที่ 1,642 – 1,650 จุด ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิครั้งแรกในรอบ 8 วัน ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวก ขานรับผลประกอบการไตรมาสสองของหุ้นกลุ่มค้าปลีกที่สดใส

ปัจจัยทางเทคนิค
จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดกำลังแกว่งตัวเข้าหาช่องว่าง (Filling the gap) ขาลงที่ 1,642 – 1,650 จุด โดยมีแนวต้าน 1,650 จุด ซึ่งเป็นแนวต้าน 38.2% Fibonacci Retracement เป็นแนวต้านร่วม และมีเส้น Multiple Moving Average แบบ Long – Term (MMA2) เป็นแนวต้านถัดไป

ตามหลักการของ Granville เมื่อดัชนีปรับตัวเข้าหาแนวต้านของเส้น MMA แรงขายระยะสั้นจะทำให้ดัชนีตลาดพักตัวลง

ดัชนีตลาดระยะสั้นมีโอกาสเกิดการปรับในสามลักษณะ คือ
1. ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับที่ 1,608 จุด จากนั้นดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นด้วยมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีตลาดสร้างจุดยกสูง
2. ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงเข้าหาแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,590 จุด ตลาดเกิดสัญญาณกลับตัวรูป Double Bottom ร่วมกับการเกิดสัญญาณ Bullish Divergence
3. ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงปิดต่ำกว่าแนวรับของจุดต่ำเก่าที่ 1,590 จุด

จากกราฟรายวัน ดัชนีตลาดมีทิศทางปรับตัวลดลงเป็นคลื่นปรับ (Corrective wave) คลื่น (ii) และตัวลงทดสอบแนวรับของจุดต่ำของคลื่น iv) หลักการของปรับตัวลงสามารถลงลึกได้ถึงจุดเริ่มต้นของคลื่น (i) แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 1,546 จุด
สัญญาณ Oscillator จากกราฟรายวัน สัญญาณ Modified Stochastic และ RSI กลับมาเป็นบวกในเขตขายมากเกิน โดยสัญญาณ Modified Stochastic เกิดสัญญาณซื้อเป็นรูป W-shape ขณะที่สัญญาณ MACD เป็นลบ ทำให้ดัชนีตลาดระยะสั้นมีทิศทางปรับตัวขึ้นทดสอบแนวต้านที่ 1,642 – 1,650 จุด
ทิศทางตลาดหลักทรัพย์ระยะสั้น มีกรอบแนวต้านอยู่ที่ 1,642 – 1,650 จุด และมีกรอบแนวรับอยู่ที่ 1,632 – 1,620 จุด

กลยุทธ์การลงทุน
ถือพอร์ตการลงทุนไว้ที่ 60 เปอร์เซ็นต์ของพอร์ต
Trend AnalysisWave Analysis

Declinazione di responsabilità