12 lug 2022
ทองคำมีแต่ร่วง แต่เงินเฟ้อก็ยังพุ่งทะยาน ทำไม? วันนี้ขอวันหนึ่งที่ไม่พูดไปทางการวิเคราะห์ทางเทคนิคมากนัก จากคำถามว่าทำไมทองคำถึงไม่กลับฟื้นสักทีทั้งที่เงินเฟ้อก็รุนแรงอยู่ วันนี้ขอมาบอกเล่าถึงคำถามดังกล่าว “ทำไมทองคำไม่ฟื้นในสถานะการณ์วิกฤตเงินเฟ้อทั่วโลก” ทุกๆ ครั้งที่เรากล่าวถึงภาวะเงินเฟ้อสิ่งที่นักลงทุนมักจะนึกถึงก่อนเสมอก็คงไม่ใช่อื่นใดเลยนอกจากทองคำ ทองคำคือหนึ่งในสินทรัพย์ที่รองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจมีภาวะการถอถอย หรือชะลอตัวลง เพราะทองคำนั้นมีสถานะยืนยาวที่จะรองรับการป้องกันแรงกดดันด้านราคา และเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่มีมูลค่าดีที่สุด แต่เหตุใดทองคำถึงยังไม่ฟื้นคืนกลับ ทั้งที่เงินเฟ้อรุนแรงขนาดนี้ทองคำน่าจะไปอยู่ที่ระดับ 2000 ดอลลาร์ต่อออนซได้แล้ว แต่มันกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะอะไร เพราะตอนนี้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศเริ่มขยับด้วยการใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ เข้ามาต่อกรกับภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นรุนแรงทั่วโลกขณะนี้ หนึ่งในธนาคารกลางของโลกที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของโลกคือ ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด ธนาคารกลางของสหรัฐเป็นหนึ่งในบรรดาธนาคารกลางที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อที่จะควบคุมภาวะเงินเฟ้อให้กลับมาสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ธนาคารกลางสหรัฐเลือกที่ปรับอัตราดอกเบี้ยอย่างรุนแรงต่อเนื่อง จนทำให้ทองคำที่เป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่รองรับความเสี่ยงช่วงเวลานี้ต้องถูกลดทอนค่าการลงทุนลง เพราะนักลงทุนมองโอกาสที่จะทำกำไรในระยะสั้นๆ ได้จากสกุลเงินมากกว่า โดยดอลลาร์เป็นหนึ่งในสกุลเงินที่นักลงทุนได้ให้ความสำคัญ เพราะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรุนแรงของธนาคารกลางสหรัฐนั้นทำให้ดอลลาร์กลายเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยแทนทองคำไปในทันที การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเช่นนี้ไม่เป็นผลดีต่อทองคำ ตลาดกำลังเตรียมพร้อมสำหรับอัตราต่อรองของเฟดที่กำลังจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ 75 BSP ในเดือนนี้และอีกสามครั้งถัดไป หากว่าตัวเลข CPI ยังไม่สามารถลดลงได้ตามเป้าหมายคาดการของธนาคารกลางสหรัฐในสิ้นปีนี้ อัตราเงินเฟ้อจึงเหมือนเกมส์ชักเย่อกับทองคำ และทองคำเองก็ยังคงพยายามรักษาเสถียรภาพของราคาของตัวเองไว้ ตอนนี้ทองคำก็มากแกว่งตัวใกล้ 1700 ดอลลาร์ต่อออนซ์เต็มทีแล้ว (ตามเวลาที่เขียนบทความนี้ราคาทองคำอยู่ที่ 1733 ดอลลาร์ต่อออนซ์) รายงานอัตราเงินเฟ้อที่จะออกมาในวันพรุ่งนี้จะเป็นเครื่องชี้นำในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐในช่วงปลายเดือนที่จะถึงนี้ ในส่วนของตลาดหุ้นสหร้ฐเองก็ให้ความสนใจไปที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ เช่นกัน แม้ว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวจะทำให้ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจจะต้องดำเนินไป การแข็งค่าของดอลลาร์จะยังคงอยู่ในภาวะการเข้าซื้อขายเก็งกำไรของนักลงทุนต่อไปในช่วงเวลานี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากยิ่งสำหรับทองคำ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าค่าตัวเลขเงินเฟ้อที่จะถึงนี้จะต้องลดน้อยลง และหากเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นการเฝ้าติดตามการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐต่อไป เพราะหากเฟดแก้ไขเปลี่ยนแปลงแนวทางการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่ำลง ตรงนั้นจะเป็นผลดีกับทองคำในระยะสั้นได้ ก็ต้องเฝ้าติดตามเรื่องนี้กันต่อไปประเมินทางเทคนิคทองคำวันนี้ โบรกเกอร์ FXCM ทิศทางทองคำรายวันนั้นยังอยู่ในช่วง Over Sold (การอยู่ในช่วง OVS ไม่ได้หมายถึงว่าราคาจะกลับตัวทันที เพียงเพื่อเตือนว่ามีโอกาสที่จะปรับตัวในระยะเวลาดังกล่าว) แนวรับสำหรับกรอบรายวันระยะถัดไปจะอยู่ที่ 1705 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งจะเป็นแนวรับสุดท้ายของกรอบรายวัน หากหลุดแนวรับดังกล่าวก็จะสิ้นสุดระดับราคา 1700 ดอลลาร์ต่อออนซ์ สำหรับกรอบรายชั่วโมงนั้น ทองคำยังแกว่งตัวในกรอบระยะสั้นที่ระดับ 1732-1743 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แนวโน้มวันนี้เรายังเห็นทองคำพยายามลงไปทดสอบแนวรับ 1732-1730 อยู่ต่อเนื่อง หากราคาในแนวรับดังกล่าวไม่สามารถรองรับได้นั้น โอกาสที่ระดับ 1730 จะโดนทำลายลงก็เป็นไปได้สูง ถ้าราคาทองคำยังไม่สามารถผ่าน 1743 ดอลลาร์ต่อออนซ์ขึ้นไปได้ ซึ่งแนวรับที่จะรองรับราคาถัดจาก 1732 - 1730 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก็จะมี 1728 และ 1722 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ก่อนจะไปจบใกล้ ๆ 1700 ดอลลาร์ต่อออนซ์ มุมมองวิเคราะ์ส่วนตัวมองว่าทองคำยังไม่มีทิศทางขาขึ้นในช่วงเวลานี้ จึงควรระมัดระวังคำสั่งซื้่อขายในทางบวก ทองคำอาจเห็นช่วง Rebound สั้นจากการปรับฐาน แต่ก็ควรลงทุนกับช่วงดังกล่าวในระยะสั้นๆ เท่านั้น อย่าถือครองคำสั่งซื้อขายในระยะยาว เนื่องจากความผันผวนเองยังไม่สิ้นสุน =================================กลยุทธ์การเทรดทองคำกรอบรายชั่วโมง ================================= Short Position : หากราคาทองคำไม่สามารถผ่านแนวต้านบริเวณ 1752 ดอลลาร์ต่อออนซ์ได้นั้น ให้เสี่ยงเปิด “ขาย” ได้จากบริเวณดังกล่าว โดยเน้นการลงทุนระยะสั้น พิจารณาปิดทำกำไรที่แนวรับ 1732 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคาหลุดลงต่ำกว่าแนวรับดังกล่าวก็ให้ชะลอการปิดทำกำไรบางส่วนออกไปก่อน Long Position : หากราคาทองคำไม่สามารถผ่านแนวรับบริเวณ 1732 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ให้เสี่ยงเปิด “ซื้อ” ได้จากบริเวณดังกล่าว โดยเน้นการลงทุนระยะสั้น พิจารณาปิดทำกำไรที่แนวต้าน 1752 ดอลลาร์ต่อออนซ์ หากราคาปรับขึ้นเหนือแนวต้านดังกล่าวก็ให้ชะลอการปิดทำกำไรบางส่วนออกไปก่อน (ตัดขาดทุนหากราคาทองคำปรับต่ำกว่า 1732 ดอลลาร์ต่อออนซ์)แนวรับ แนวต้าน กรอบรายวัน (ระยะกลาง) ------------------------------------------- Resistance :1786 / 1836 / 1867 ------------------------------------------- Support : 1736 / 1706 / 1681 -------------------------------------------แนวรับ แนวต้าน กรอบรายชั่วโมง (ระยะสั้น) ------------------------------------------- Resistance : 1752 / 1764 / 1773 ------------------------------------------- Support : 1732 / 1713 / 1701 -------------------------------------------แนวโน้มทิศทางทองคำวันนี้ Time Frame H1 = Down trend Time Frame H4 = Down trend Time Frame Day = Down trend Time Frame Week = Up trend Time Frame Month = Up trend -------------------------------------------------กองทุน SPDR ถือครองทองคำ (เมษายน) ------------------------------------------------- สถานะการถือครองทองคำ = ล่าสุดขายออก -1.16 ตัน คงถือสุทธิ = 1,023.27 ตัน ราคาซื้อขายล่าสุด = 1,742.10 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ปรับการถือครองครั้งที่ = 5 รวมการเคลื่อนไหวล่าสุด = -29.36 ตัน ------------------------------------------------- *การลงทุนมีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณให้รอบคอบก่อนการลงทุนทุกครั้ง **ข้อมูลจากการวิเคราะห์ไม่ได้เป็นเครื่องมือชี้นำระดมทุน เพียงเป็นเครื่องมือประกอบความรู้ในการลงทุนในแต่ละวันเท่านั้น จึงไม่มีส่วนต่อความรับผิดชอบใดๆ อันเกิดขึ้นในภายหลัง ***การวิเคราะห์เป็นเพียงสมมุติฐานค่าสถิติจากอดีต จึงไม่ได้เป็นเครื่องมือการันตี 100% ต่อการสร้างผลกำไรในอนาคต